ใครว่าหนังไทยห่วย หนังผีไทยที่สะเทือนใจที่สุด: นางนาก (2542)นางนาก ใครว่าหนังไทยห่วย
ใครว่าหนังไทยห่วย (2542) นักแสดง: ทราย-อินทิรา เจริญปุระ, เมฆ-วินัย ไกรบุตร ผู้กำกับ: นนทรีย์ นิมิบุตร (2499 อันธพาลครองเมือง, จัน ดารา, อารมณ์ อาถรรพ์ อาฆาต)
ค่ายผู้สร้าง: ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ รายได้: 149.6 ล้านบาท ที่สุดของหนังไทย: ครองอีกหนึ่งตำแหน่งทางสถิติรายได้ของหนังไทยนั่นคือการเป็นหนังที่ทำรายได้ทะลุ 100 ล้านบาท
ได้เป็นเรื่องแรก ตำนานความรักแห่งบางพระโขนงที่ถูกนำมาตีความใหม่โดยสุดยอดผู้กำกับจากวงการโฆษณาในยุคนั้นอย่าง อุ๋ย-นนทรีย์ นิมิบุตร ที่ดังมาแล้วจากหนังพีเรียด
“2499 อันธพาลครองเมือง” (2540) (ที่แจ้งเกิดนักแสดง ติ๊ก-เจษฎาภรณ์ ผลดีในบท “แดง ไบเล่” และหนังทำรายได้ไป 75 ล้านบาท) การตีความใหม่ในรอบนี้เน้นถ่ายทอดความสมจริง
และเรื่องราวดรามาความรักของผีนากที่ตายทั้งกลมตอนผัวไปออกรบ แตกต่างจากฉบับก่อนหน้านี้ที่เป็นแนวตลกสยองขวัญ ยิ่งกับเฉพาะตอนไคลแม็กซ์ที่ทั้งหลอนทั้งซึ้ง
จนคนดูน้ำตาไหลไปกับชะตากรรมของพี่มากกับอีนากก็ทำให้หนังประสบความสำเร็จอย่างสูง วินัย ไกรบุตรก็ได้สานต่อความสำเร็จกับหนัง “บางระจัน” (2543) อีกเรื่องในปีถัดมา
ที่กลายเป็นหนัง 150 ล้านบาทเรื่องแรกของไทย หนังพิสูจน์ศรัทธาที่ดีที่สุด: 15 ค่ำ เดือน 11 (2545)15 ค่ำ เดือน 11 (2545) นักแสดง: โอ-อนุชิต สพันธุ์พงษ์, ธิดา
รัตน์ เจริญชัยชนะ, นพดล ดวงพร, สุรสีห์ ผาธรรม, สมชาย ศักดิกุล ผู้กำกับ: จิระ มะลิกุล (มหาลัย’เหมืองแร่, รัก 7 ปี ดี 7 หน ตอน 42.195, พรจากฟ้า ตอน พรปีใหม่)
ค่ายผู้สร้าง: จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ / หับ โห้ หิ้น ฟิล์ม รายได้: 55 ล้านบาท ใครว่าหนังไทยห่วย
ที่สุดของหนังไทย: หนังที่สร้างได้ตามมาตรฐานหนังต่างประเทศในแง่ของการเป็นหนังที่พิสูจน์ศรัทธาและทำให้เกิดการถกเถียงต่อความเชื่อทางวัฒนธรรมและปรากฎการณ์ธรรมชาติ “บั้งไฟพญานาค” ที่จะมีลูกไฟพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขงทุกวันออกพรรษา หนังถูกลากไปเป็นประเด็นระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาวได้ในตอนที่หนังออกฉายถึง
ขนาดมีการเรียกร้องให้แบนหนังเรื่องนี้ เนื่องจากไปลบหลู่ความเชื่อทางศาสนาของคนในพื้นที่ แต่ต่อมาทางผู้สร้างก็ขอให้ผู้ชมไปตัดสินหนังด้วยตัวเองและไม่เกิดการแบนในที่สุด หนังเล่าเรื่องของนักวิจัยที่ออกค้นหาสาเหตุพบเงื่อนงำมากมายที่ระบุว่าเป็นปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคเกิดจากฝีมือของพระกลุ่มหนึ่ง แต่ท้ายที่สุดหนังก็จบปลายเปิด
ไว้ได้อย่างสวยงาม ท้ายที่สุดหนังคว้า 9 รางวัลสุพรรณหงค์ทองคำ รวมทั้งสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและผู้กำกับยอดเยี่ยมในปีนั้น หนังสอนชีวิตที่จริงที่สุด: มหาลัย’เหมืองแร่ (2548)มหาลัย’เหมืองแร่ (2547) นักแสดง: พิชญะ วัชจิตพันธ์, ดลยา หมัดชา, สนธยา ชิตมณี, นิรันต์ ชัตตาร์, แอนโทนี โฮวาร์ด กูลด์ ผู้กำกับ: จิระ มะลิกุล (15 ค่ำ เดือน 11,
รัก 7 ปี ดี 7 หน ตอน 42.195, พรจากฟ้า ตอน พรปีใหม่) ค่ายผู้สร้าง: จีทีเอช รายได้: 30 ล้านบาท ที่สุดของหนังไทย: สร้างจาก 1 ใน 100 หนังสือที่คนไทยควรอ่านของนักเขียนชื่อดัง “อาจินต์ ปัญจพรรค์” ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2534 ที่เขียนขึ้นจากชีวิตของตัวเอง หลังถูกรีไทร์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ปี 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต้องนำพาชีวิตเดินทางไกลจากเมืองหลวง ไปสิ้นสุดลงที่เหมือง “กระโสม ทิน เดรดยิง” อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เหมืองแร่ดีบุกในยุคที่กิจการเหมืองแร่ในไทยยังเฟื่องฟู หลังจากใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น 3 ปี 11 เดือน ต่อมาในปี 2497 เขาถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือผ่านเรื่องสั้นชุด “เหมืองแร่” พิมพ์ในนิตยสารชาวกรุงตลอด 30 ปี รวมทั้งสิ้น 142 ตอน
อาจินต์ไม่เคยคิดขายลิขสิทธิ์หนังสือให้ใครไปทำเป็นหนังหรือละครตลอดชีวิต จนกระทั่งมาเจอจิระ มะลิกุล “ผมถามเขาว่าแอ็กชันคืออะไร เขาบอกผมว่า ฝนตกเจ็ดวันเจ็ดคืน แอ็กชันของมันคือถนนขาด สะพานพังต้องทำใหม่ และเรือขุดจม นั่นคือสุดยอดแอ็กชัน ทันทีที่ผมได้ฟังก็รู้สึกว่าเขาเล็งลึกผมเชื่อมือเขา และตั้งแต่เขา
เริ่มทำงานผมไม่ไปเกี่ยวข้องกับเขา เพราะตัวหนังสือของผมเดินด้วย ก.ไก่ ข.ไข่ แต่นายเก้ง (จิระ) งานเขาเดินด้วยฟิล์ม มันคนละอาชีพ” ท้ายที่สุด หนังทุนสร้าง 70 ล้านบาทกลับทำรายได้ไปเพียง 30 ล้านบาทกลายเป็นหนังขาดทุน แต่ก็คว้ารางวัลสุพรรณหงส์ทองคำในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและผู้กำกับยอดเยี่ยมไปครอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง >>> จะเปิดหรือไม่เปิด
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ >>> ข่าวหนัง มาร์เวล